หน่วยที่4 บุคคลสำคัญ


บุคคลสำคัญ


                      พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
สมเด็จพระยามหากษัตริย์ศึก แม่ทัพใหญ่ในสมัยกรุงธนบุรีไรับอันเชิญจากขุนนางและไพร่ฟ้าประชาชนให้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกในราชวงค์จักรี ( พ.ศ.2325-2352) โดยได้รับการขนานนามว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ๙พระองค์มี พระราชกรณียกิจที่สำคัญดังนี้

1.
ด้านการสร้างอาณาจักร พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้สถาปนาราชวงศ์ใหม่ขั้น ปกครองราชอาณาจักร ไทยสืบทอด ความมีเสถียรภาพมั่นคงต่อจากสมัยกรุงธนบุรี และทรงโปรดเกล้าให้สร้างราชธานีใหม่นามว่า กรุงเทพมหานครบวร รัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยา มหาดิลกภพนพรัตน์ ราชธานีบุรีรัมย์อุดมราชนิเวศน์ มหาสถาน อมรพิมารอวตารสถิต สักกทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์ โดยสร้างขึ้นบริเวณฟากตะวันออกของลำน้ำเจ้าพระยา ตรงข้ามกรุงธนบุรี ในชัยภูมิ ที่เหมาะสมเพราะมีลำน้ำ โอบล้อมถึง3 ด้าน

2.
ด้านการต่างประเทศ ในระยะการสร้างบ้านสร้างเมือง ของพระองค์ในกรุงรัตนโกสินทร์ ตอนต้น ไทยมีความสัมพันธ์กับเพื่อนบ้าน ในเรื่องของการเมืองโดยมีจุดมุ่งหมาย 3 ประการ คือ

1.
ต้องการความปลอดภัยทางด้านยุทธศาสตร์
2.
ต้องการรักษาบูรณภาพของดินแดน
3.
ต้องการแผ่อิทธิพลไปยังบริเวณที่เคยเป็นประเทศราชในอดีต เช่น ลาว เขมร หัวเมืองมลายู การเกี่ยวข้องจะเป็นเรื่องของการทำสงครามเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นตลอดรับสมัยของพระองค์ความสัมพันธ์ กับประเทศเพื่อนบ้ามีดังนี้

-
ความสัมพันธ์กับประเทศลาว อาณาจักรลาวได้รวมอยู่ในความครอบครองของไทยโดยเด็ดขาดในสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี สมเด็จพระยามหากษัตริย์ศึกได้ทรงยกทัพไปตีนครเวียงจันทน์ และหัวเมืองลาวมาทั้งหมด

-
ความสัมพันธ์กับพม่าสมัยรัชการที่ 1 ไทยทำสงครามกับพม่าถึง 8 ครั้ง ครั้งสำคัญ คือสงครามเก้าทัพ เมื่อ พ.ศ. 2328 และสงครามที่ สามสบ ท่าดินแดง ใน พ.ศ. 2329 และสงครามไทยกับพม่าได้สิ้นสุดลง ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่ออังกฤษเข้ามาแทรกแซงพม่า จนพม่าต้องตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ

      พระปิยะมหาราช พระปิยมหาราช หรือพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นพระมหากษัตริย์ ที่ยิ่งใหญ่ด้วยพระบารมีและพระปรีชาสามารถอันล้นพ้น พระองค์ทรงเป็นผู้นำประเทศให้เกิดการพัฒนาตามแบบอย่างตะวันตก และได้มีผลงานที่สำคัญอันเป็นคุณประโยชน์ต่อประเทศชาติดังนี้

1.
การเลิกทาส ทาสในสังคมไทยได้รับการปลกปล่อยอย่างมีขั้นตอนในามัย รัชกาลที่ 5 โดยการปลดปล่อยลูกทาสซึ่งนำใปสู่การเลิกทาสในครั้งนั้นนอกจากจะมีผลต่อสังคม คือทำให้ราษฎรส่วนใหญ่ได้รับอิสระและเสรีอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนแล้วยังบังเกิดผลอันดีสอดคล้องกับสภาพการเมือง การปกครองที่กำลังพัฒนาไปสู่รูปแบบใหม่ในระหว่างนั้นด้วย

2.
การปฏิรูปการปกครอง การปกครองส่วนกลาง ร. 5 ได้โปรดเกล้าให้ยกเลิกหน่วยงานเก่า แล้วจัดตั้งหน่วยงานที่เรียกว่ากระทรวง ขึ้น 12 กระทรวง (พ.ศ. 2435)โดยมีเสนาบดีกระทรวงต่างๆ รับผิดชอบงานแต่ละกระทรวง ได้แก่ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงกลาโหม กระทรวงการต่างประเทศ แระทรวงวัง กระทรวงนครบาล กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ กระทรวงเกษตร และพาณิชการ กระทรวงยุติธรรม กระทรวงยุทธนาธิการ กระทรวงธรรมการ

กระทรวงโยธาธิการ และกระทรวง มุรธาธิการ ทั้งยังตั้งสภาที่ปรึกษาขึ้น 2 สภาคือ

1.
รัฐมนตรีสภา มีหน้าที่ให้คำปรึกษาราชการแผ่นดินและการพิจารณาร่างกฎหมาย

2.
องคมนตรีสภา มีหน้าที่ให้คำปรึกษาราชการในพระองค์และเป็นคระกรรมการขำระความ
การปกครองส่วนภูมิภาค ได้จัดตั้งมณฑลเทศาภิบาลขึ้นเพื่อคอยประสานงานระหวาางส่วยกลางกับส่วนภูมิภาค เป็นผลให้การปฏิบัติราชการมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นมี ข้าหลวงเทศาภิบาล หรือสมุหเทศาภิบาลเป็นหัวหน้าควบคุมดุแลเมือง(จังหวัด) อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน
การปกครองส่วนท้องถิ่น ในปี พ.ศ.2448พระองค์ได้จัดสุขาภิบาลขึ้นที่ท่าฉลอม และในปี พ.ศ. 2452 จึงประกาศใช้พระราชบัญญัติ จัดการสุขาภิบาล ร.ศ. 127” โดยมีสุขาภิบาล 2 ประเภท คือ สุขาภิบาลเมืองและสุขาภิบาลตำบล จนกระทั่งเปลี่ยนแปลงการปกครองจึงได้ยกเลิกไปแล้วกันมาใช้เทศบาลแทน

3.
การปฏิรูปการศึกษา
การปฏิรูปการศึกษาสมัยรัชกาลที่ 5 มีจุดมุ่งหมายที่สำคัญ 2 ประการ คือ

1.
การจัดตั้งโรงเรียนเพื่อผลิตคนเข้ารับราชการ ในปี พ.ศ.2425 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งโรงเรียน นายทหารมหาดเล็กขึ้นเรียกว่า โรงเรียนนายทหารมหาดเล็กหรือโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ
2.
การจัดตั้งโรงเรียนราษฎร โรงเรียนหลวงแห่งแรกของประชาชนจึงมีขึ้นเมื่อ พ.ศ.2427 คือโรงเรียนวัดมหรรณพาราม จุดมุ่งหมายเพื่อขยายการศึกษาสู่ประชาชนเมื่อกิจการโรงเรียนหลวงเจริญก้าวหน้า โปรดให้ตั้งกรมศึกษาธิการขึ้นในปี พ.ศ. 2430 ต่อมาได้ยกฐานะเป็นกระทรวงธรรมการ ครั้นสมัยรัชกาลที่ 6 กระทรวงธรรมการเปลี่ยนเป็นกระทรวงศึกษาธิการ และแบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ประเภทคือ สายสามัญศึกษา คือ การศึกษาหาความรู้ในสิ่งที่ทุกคนควรรู้ และสายวิสามัญ คือการศึกษาวิชาความรู้พิเศษ ซึ่งทุกคนสามารถเลือกเรียนเฉพาะอย่างได้
สมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีการประกาศใช้ พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. 2464 กำหนดให้เด็กทุกคนที่มีอายุตั้งแต่ 7 – 14 ปี ต้องเรียนในโรงเรียนประถม โดยไม่เสียค่าเล่าเรียน และในปี พ.ศ. 2459 ได้มีการจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาขึ้นเรียกว่า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นับเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทย

4.
การปรับปรุงประเพณีและวัฒนธรรม
ขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมที่สำคัญและได้รับการปรับปรุงคือ

1.
ประเพณีที่เกี่ยวข้องกับกษัตริย์ ได้แก่ พระราชพิธีบรมราชาภิเษกที่รัชกาลที่ 5 ทรงจัดขึ้นอีกครั้งหนึ่งเมื่อ พ.ศ. 2416
2.
ประเพณีสืบสานราชสันติวงศ์ รัชกาลที่ 5 ทรงยกเลิกตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคล โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งตำแหน่งสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร ซึ่งสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศเป็นพระองค์แรกที่ทรงดำรงตำแหน่งนี้
3.
การเสด็จประพาสต่างประเทศ เป็นประเพณีที่รัชกาลที่ 5 ทรงริเริ่มขึ้น
4.
การใช้พุทธศักราช ( พ.ศ. ) เป็นศักราชทางราชการ ทั้งนี้เพราะพระพุทธศานาประจำชาติพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดให้ใช้พุทธศักราช ( พ.ศ. ) แทนรัตนโกสินทร์ศก ( ร. ศ. ) ซึ่งมีใช้มาตั้งแต่รัชกาลที่ 5
5.
การเปลี่ยนแปลงธงชาติ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้ประดิษฐ์ธงชาติขึ้นใหม่ มีสามสีคือ สีแดง ขาว และน้ำเงิน และพระราชทานนามว่า ธงไตรรงค์
6.
การเปลี่ยนธงการนับเวลาราชการ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงให้ใช้คำว่านาฬิกาเป็นคำนามบอกเวลาแทน โมง และ ทุ่ม และให้ถือเอาเวลาเลยเที่ยงคืนเป็นเวลาเปลี่ยนวันใหม่ เพื่อให้ได้มาตราฐานแบบเดียวกับนานาประเทศคือใช้เวลาของกรีนิชเป็นหลัก
5.
การปรับปรุงเศรษฐกิจและการคลัง
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตระหนักถึงปัญหาการเงินของประเทศจึงโปรดให้มีการปรับปรุงเศรษฐกิจ แก้ไขระเบียบการคลัง ตลอดจนการเก็บภาษีอากร การเงิน และการธนาคาร ดังนี้คือ

1.
ในด้านการเศรษฐกิจและการคลัง โปรดให้ตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ขึ้นใน พ.ศ. 2416 เพื่อเก็บผลประโยชน์และรายได้ของแผ่นดิน ครั้นต่อมา พ.ศ. 2435 ทรงยกฐานะขึ้นเป็น กระทรวงการคลังมหาสมบัติ เพื่อจัดการเรื่องรายรับรายจ่ายรวมทั้งการรักษาเงินของแผ่นดิน ส่วน พระคลังข้างที่ ให้เป็นผู้ดูแลพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เท่านั้น
2.
การปรับปรุงการเก็บภาษีอากร รัชกาลที่ 5 ทรงแต่งตั้งข้าหลวงคลังออกไปประจำทุกมณฑล เพื่อเก็บภาษีอากรจกราษฎร โดยกำหนดอัตราเท่ากันทุกมณฑล ทำให้ทางราชการเก็บภาษีอากรได้เต็มเม็ดเต็มหน่วยขึ้น
3.
การปรับปรุงการเงินและการธนาคาร รัชกาลที่ 5 โปรดให้เปลี่ยนแปลงมาตราเงิน โดยสร้างหน่วยเงินขึ้นใหม่เรียกว่า สตางค์ ยกเลิกเงินพดด้วง ให้ใช้เงินเหรียญบาท เหรียญสลึงและเหรียญสตางค์
นอกจากนั้นสมัยรัชกาลที่ 5 ยังได้มีการจัดตั้งธนาคารขึ้นแห่งแรกมีชื่อว่า บุคคลัภย์ (Book Clup) ต่อมา พ.ศ. 2499 ได้รับพระบรมราชานุญาตจดทะเบียนเป็นธนาคารที่ถูกต้องตามกฎหมาย ใช้ชื่อว่า แบค์สยามกัมมาจล ( Siam commercial Bank ) ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด

6.
การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
เมื่อการค้าขยายตัวมากขึ้น รัฐบาลจะต้องจัดสร้างโรงสร้างพื้นฐานที่จะช่วยเอื้ออำนวยให้เศรษฐกิจสามารถเจริญก้าวหน้าไปด้วยความสม่ำเสมอ ไม่สะดุดหยุดชะงักโครงสร้างพื้นฐานเหล่านี้ ได้แก่
การพัฒนาการขนส่ง การสื่อสาร และการคมนาคม ในสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงตั้งกรมไปรษณีย์ภัณฑ์ พัสดุ ธนาณัติ ติดต่อกับหัวเมืองต่างๆและต่างประเทศ เปิดบริการโทรเลขและวางสายโทรศัพท์ในพระนครเมื่อ พ.ศ.2424 ในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้จัดตั้งสถานีวิทยุโทรเลขขึ้นที่ตำบลศาลาแดงเมื่อ พ.ศ. 2456 การพัฒนาการคมนาคมที่สำคัญที่สุดได้แก่ การสร้างทางรถไฟในสมัยรัชกาลที่ 5 ไทยต้องกู้เงินจากต่างประเทศเพื่อการลงทุนเป็นครั้งแรก เนื่องจากกิจการรถไฟเป็นกิจการที่ต้องลงทุนสูงมาก ทางรถไฟสายแรกระหว่างกรุงเทพฯ-นครราชศรีมา เริ่มสร้างเมื่อ พ.ศ. 2433 และต่อมาก็ขยายไปทางสายเหนือไปถึงอุตรดิตถ์สายให้ไปถึงเพชรบุรีและสายตะวันออกไปถึงฉะเชิงเทรา

              พระภัทรมหาราชหรือพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่มีพระบารมีและมีพระปรีชาสามารถในทุกๆ ด้าน ทรงเป็นผู้พัฒนาคุณภาพชีวิตของพสกนิกรทั่วประเทศ ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงพระราชกรณียกิจหนักเพื่อประชาชนโดยแท้ พระราชกรณียกิจที่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่อาณาประชาราษฏร์นับตั้งแต่วันเถลิงราชสมบัติ เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ 2489

1.
พระราชกรณียกิจด้านการพัฒนา
ได้ทรงเสด็จออกเยี่ยมประชาชนในทุกภาคของประเทศทุกปี อย่างน้อยปีละ 6-8 เดือน โดยทรงให้ความสำคัญต่อการพัฒนาชนบทมาก มีโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำรินับถึงปัจจุบัน 2,012 โครงการ ครอบคลุมกิจกรรมทางเศรษฐกิจสังคมทุกสาขา มีชื่อเรียกต่างกันตามวัตถุประสงค์ เช่นโครงการในพระราชดำหริ โครงการตามพระราชประสงค์ โครงการหลวง และโครงการในพระบรมราชานุเคราะห์เป็นต้น
ลักษณะพิเศษของโครงการในพระราชดำหรินี้ใช้หลักการทำให้ง่ายหรือ Simplicity จัดการด้วยสติปัญญา เพื่ออยู่ดีกินดี ซึ่งทรงถือว่าเป็นผลสำเร็จที่คุ้มค่า บนพื้นฐานของการทำงาน รู้รักสามัคคีปัจจุบันขณะที่ประเทศไทยกำลังพัฒนาประสบภาวะ วิกฤษเศรษฐกิจ ก็ทรงเสนอปรัชญาการพัฒนาที่เรียกว่า ทฤษฎีใหม่เพื่อแก้ไขปัญหาขั้นพื้นฐานของประชาชนทุกครัวเรือนที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม โดยให้มีการจัดการพื้นที่ขนาดเล็กเพื่อการเกษตรผสมผสานให้แต่ละครอบครัวพึ่งตนเองได้ มีผลให้ชุมชนเข้มแข็งเป็นการพัฒนาแบบยั่งยืน ดังพระราชดำรัสเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2540 ว่า

“…
เศรษฐกิจแบบค้าขายฝรั่งเขาเรียก Trade Economy ไม่ใช่แบบพอเพียง ซึฝรั่งเรียกว่า Self - Sufficient Economy ถ้าเราทำแบบที่ไหนก็ทำได้คือเศรษฐกิจพอเพียงกับตัวเอง เราก็อยู่ได้ไม่ต้องเดือดร้อน
รู้ว่าท่านทั้งหลายกำลังกลุ้มใจในวิกฤตการณ์ ตั้งแต่คนที่มีเงินน้อยจนกระทั่งคนที่ มีเงินมาก แต่ถ้าสามารถที่จะเปลี่ยนให้กลับเป็นเศรษฐกิจแบบพอเพียง ไม่ต้องทั้งหมดแม้จะไม่ถึงครึ่งอาจจะเศษหนึ่งส่วนสี่ ก็สามารุที่จะอยู่ได้ การแก้ไขจะต้องใช้เวลา ไม่ใช่ง่ายๆ โดยมากคนก็ใจร้อนเพราะเดือดร้อนเพราะเดือดร้อน แต่ว่าถ้าทำตั้งแต่เดี๋ยวนี้ก็จะสามารถที่จะแก้ไขได้




คลิกทำแบบทดสอบ