วันเสาร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

พัฒนาการชาติไทยสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นด้านการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม


การเมืองสมัยรัตนโกสินทร์ ตอนต้น
รัชกาลที่ 1-3 (สมัย ฟื้นฟูประเทศ พ.ศ.2325-2394)

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เสด็จขึ้นครองราชย์ใน ปี พ.ศ.2325 และทรงโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายราชธานีใหม่จากกรุงธนบุรีมายังฝั่งตะวันออก(ฝั่งซ้ายของแม่น้ำเจ้า พระยา)และสร้างกรุงเทพฯ เป็นราชธานีขึ้น ณ ที่แห่งนี้

เหตุผลที่พระบาทสมเด็จ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ ทรงย้ายราชธานี
- พระราชวังเดิมของกรุง ธนบุรีคับแคบ มีวัดขนาบอยู่ทั้งสอง ด้าน คือ วัดอรุณราชวราราม (วัดแจ้ง) และ
วัดโมฬีโลกยาราม (วัดท้ายตลาด) จึงยากแก่การขยายพระราชวัง
- ความไม่เหมาะสมด้าน ภูมิประเทศ เนื่องจากฝั่งตะวันตก หรือราชธานีเดิมเป็นท้องคุ้ง อาจถูกน้ำกัดเซาะตลิ่งพังได้ง่าย แต่ฝั่งตะวันออก(กรุงเทพ)เป็นแหลมพื้นดินจะงอกอยู่เรื่อยๆ
- ความไม่เหมาะสมในการ ขยายเมืองในอนาคต พื้นที่ฝั่งตะวันออก เป็นที่ราบลุ่มกว้างขวาง สามารถขยายตัวเมืองไปทางเหนือและตะวันออกได้
- กรุงธนบุรีไม่เหมาะทาง ด้านทำเลที่ตั้งยุทธศาสตร์ กล่าวคือ มีแม่น้ำเจ้าพระยาผ่ากลาง เปรียบเสมือนเมืองอกแตก เมื่อใดข้าศึกยกทัพมาตามลำน้ำก็สามารถตีถึงใจกลางเมืองได้ง่าย
เมืองหลวงใหม่แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
บริเวณเมืองหลวงใหม่ เดิม เรียกว่า บางกอก หรือปัจจุบันคือ กรุงเทพมหานครเป็นราชธานีใหม่ของไทย สร้างขึ้นโดยเลียนแบบอยุธยา กำหนดพื้นที่ออกเป็น 3 ส่วนคือ

- บริเวณพระบรมมหาราชวัง ประกอบด้วย วังหลวง วังหน้า วัดในพระบรมมหาราชวัง(วัดพระศรีรัตนศาสดาราม)และรวมทั้งทุ่งพระสุเมรุท้อง สนามหลวง
- บริเวณที่อยู่อาศัยภาย ในกำแพงเมือง อาณาเขตกำแพงเมือง ประตูเมือง และป้อมปราการสร้างขึ้นตามแนวคลองรอบกรุง ได้แก่ คลองบางลำภู และคลองโอ่งอ่าง
- บริเวณที่อยู่อาศัยภาย นอกกำแพงเมือง เป็นพื้นที่เกษตรกรรม มีบ้านเรือนราษฏรตั้งอยู่ด้านนอกของคลองรอบกรุง มีคลองขุดในรัชกาลที่ 1 คือ คลองมหานาค
การปกครองสมัยรัตนโกสินทร์ ตอนต้น
ในสมัยรัชกาลที่ 1-3 พระมหา กษัตริย์ทรงมีพระราชอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ การจัดระเบียบการปกครองยังคงยึดถือตามแบบอย่างสมัยอยุธยาตอนปลาย มีดังนี้
การปกครองส่วนกลาง มีเสนาบดีทำหน้าที่ บริหารราชการ ได้แก่
- สมุหกลาโหม มีอำนาจ บังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายใต้ ทั้งทหารและพลเรือน มียศและราชทินนามว่า เจ้าพระยามหาเสนา ใช้ตราคชสีห์ เป็นตราประจำตำแหน่ง
- สมุหนายก มีอำนาจบังคับบัญชาหัว เมืองฝ่ายเหนือ ทั้งกิจการทหารและพลเรือนเทียบเท่ากระทรวงมหาดไทยในปัจจุบัน มียศและราชทินนามว่า เจ้าพระยาจักรี หรือเจ้าพระยาบดินทร์เดชานุชิต ใช้ตราราชสีห์เป็นตราประจำตำแหน่ง
เสนาบดีจตุสดมภ์ เป็นตำแหน่งรองลงมา ประกอบด้วย
- กรมเวียง หรือกรมเมือง เสนาบดี คือ พระยายมราช มีหน้าที่ดูแลกิจการทั่วไปในพระนคร
- กรมวัง เสนาบดี คือ พระยาธรรมา มีหน้าที่ดูแลพระราชวังและตั้งศาลชำระความ
- กรมคลัง หรือกรมท่า เสนาบดี คือ พระยาราชภักดี, พระยาศรีพิพัฒน์ หรือพระยาพระคลังมีหน้าที่ด้านการเงิน การคลัง และการต่างประเทศ
- กรมนา เสนาบดี คือ พระยาพลเทพ มีหน้าที่ดูแลไร่นาหลวง และเก็บภาษีข้าว
การปกครองส่วนภูมิภาค หรือการ ปกครองหัวเมือง
- หัวเมืองฝ่ายเหนือ (รวมทั้ง หัวเมืองอีสาน)อยู่ในความรับผิดชอบของสมุหนายก หัวเมืองฝ่ายเหนือแบ่งฐานะตามระดับความสำคัญ ดังนี้

- หัวเมืองชั้นใน(หัว เมืองจัตวา) อยู่ไม่ห่างไกลจากราชธานี มีเจ้าเมือง หรือ "ผู้รั้ง"เป็นผู้ปกครอง
- หัวเมืองชั้นนอก(เมือง ชั้นตรี โท เอก) มีขุนนางชั้นสูงหรือพระบรมวงศานุวงศ์เป็นผู้ปกครอง ได้แก่ เมืองพิษณุโลก นครสวรรค์ พิจิตร ฯลฯ
- หัวเมืองฝ่ายใต้ อยู่ในความรับผิดชอบ ของสมุหกลาโหม นับตั้งแต่เมืองเพชรบุรีลงไปจนถึงนครศรีธรรมราช ไชยา พังงา ถลาง และสงขลา เป็นต้น มีฐานะเป็นหัวเมืองชั้นนอกทั้งสิ้น
- หัวเมืองชายฝั่งทะเล ตะวันออกของอ่าวไทย เป็นหัว เมืองชั้นนอก ได้แก่ นนทบุรี สมุทรปราการ สาครบุรี ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ฯลฯ อยู่ในความรับผิดชอบของพระคลังหรือกรมท่า
การปกครองประเทศราช
- ฐานะของประเทศราช คือ เมืองของชนต่างชาติต่างภาษา มีกษัตริย์ของตนเองเป็นผู้ปกครอง
มีหน้าที่ต้องส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวายตาม กำหนดและส่งทหารมาช่วยเมื่อเมืองหลวงมีศึกสงคราม

ประเทศราชของไทยสมัย รัตนโกสินทร์ตอนต้น มีทั้งดินแดนล้านนา ลาว เขมรและหัวเมืองมลายู ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงแสน หลวงพระบาง เวียงจันทน์ จำปาศักดิ์ เขมร ปัตตานี ไทรบุรี กลันตัน ฯลฯ
การปรับปรุงกฏหมายและการศาล

กฏหมายตราสามดวง พระบาทสมเด็จพระพุทธ ยอดฟ้าจุฬาโลก โปรดเกล้าฯให้รวบรวมและชำระกฏหมายเก่าที่ใช้กันมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา และคัดลอกไว้ 3 ฉบับ ทุกฉบับประทับตราคชสีห์ ราชสีห์ และตราบัวแก้ว จึงเรียกว่ากฏหมายตราสามดวง

กฏหมายตราสามดวง หรือประมวลกฏหมายรัชกาลที่ 1 ใช้เป็นหลักปกครอง ประเทศมาจนถึงรัชกาลที่ 5 ก่อนที่ จะมีการปฏิรูปกฏหมายไทยและการศาลให้เป็นระบบสากล
ทางการปกครองสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
สภาพทางการเมืองยังคงรูปแบบของระบบสมบูรณาญา สิทธิราชย์รูปแบบของสถาบันกษัตริย์สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น คลายความเป็นเทวราชาลงเป็นอย่างมาก ขณะเดียวกันก็กลับเน้นคติและรูปแบบของธรรมราชาขึ้นแทนที่ ซึ่งอิงหลักธรรมของพุทธศาสนา คือ ทศพิธราชธรรม

พระมหากษัตริย์คือ มูลนายสูงสุดที่อยู่เหนือมูลนายทั้งปวง การ ปกครองและการบริหารประเทศ ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นนั้น กล่าวได้ว่า รูปแบบของการปกครอง ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ยังคงยึดตามแบบฉบับที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงวางระเบียบไว้ จะมีการเปลี่ยนแปลงก็เพียงเล็กน้อย

เช่น ในสมัยรัชกาลที่ 1 โปรดฯ ให้คืนเขตการปกครองในหัวเมืองภาคใต้กลับให้สมุหกลาโหมตามเดิม ส่วนสมุหนายกให้ปกครองหัวเมือง ทางเหนือ ส่วนพระคลังดูแลหัวเมืองชายทะเล

สำหรับการปกครองในส่วน ภูมิภาคหรือการปกครองหัวเมือง แบ่งออกเป็นสองชั้นใหญ่ๆ ได้แก่ หัวเมืองชั้นในและหัวเมืองชั้นนอก การแบ่งหัวเมืองยังมีอีกวิธีหนึ่ง โดยแบ่งออกเป็น 4 ขั้น คือ เอก โท ตรี จัตวา ตามความสำคัญทางยุทธศาสตร์และราษฎร

นโยบายที่ใช้ในการ ปกครองหัวเมืองในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีการเปลี่ยนแปลงเพื่อความกระชับยิ่งขึ้น ตัดทอน อำนาจเจ้าเมืองในการแต่งตั้งข้าราชการที่สำคัญๆ ทุกตำแหน่ง โดยโอนอำนาจการแต่งตั้งจากกรมเมืองในเมืองหลวง นับเป็นการขยายอำนาจของส่วนกลาง โดยอาศัยการสร้างความจงรักภักดีให้เกิดขึ้นกับเจ้านายทั้งสองฝ่าย คือ ทั้งเจ้าเมือง และข้าราชการที่แต่งตั้งตนในส่วนกลาง

การปกครองในประเทศราช ใช้วิธี ปกครองโดยทางอ้อม ส่วนใหญ่จะปลูกฝังความนิยมไทยลงในความรู้สึกของเจ้านายเมืองขึ้น ได้แก่ การนำ เจ้านายจากประเทศราชมาอบรมเลี้ยงดูในฐานะพระราชบุตรบุญธรรม และ ให้มีการ แต่งงานกันระหว่างเจ้านายทั้งสองฝ่าย

สมัยพระบาทสมเด็จพระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้ทรง ปฏิรูปการปกครองแผ่นดินอย่างขนานใหญ่ ควบคู่ไปกับการปฏิรูปเศรษฐกิจและสังคม เช่น การปรับปรุงระบบบริหาร งานคลังและภาษีอากรจัดตั้งกระทรวงต่างๆขึ้น เป็นต้น

มูลเหตุสำคัญที่ผลัก ดันให้มีการปฏิรูปการปกครอง มีอยู่ 2 ประการ คือ
1. มูลเหตุภายใน
- ประเทศไทยมีประชากร เพิ่มขึ้น
- การคมนาคมและการติดต่อ สื่อสารเริ่มมีความทันสมัยมากขึ้น
- การปกครองแบบเดิมจะมี ผลทำให้ประเทศชาติขาดเอกภาพในการปกครอง

2. มูลเหตุภายนอก
- หากไม่ทรงปฏิรูปการ ปกครองแผ่นดินย่อมจะเป็นอันตรายต่อเอกราชของชาติ เพราะขณะนั้น จักรวรรดินิยมตะวันตก ได้เข้ามาแสวงหาอาณานิคม
เศรษฐกิจสมัยรัตนโกสินทร์ ตอนต้น
ในสมัยรัชกาลที่ 4 ไทยได้ทำ สนธิสัญญาทางพระราชไมตรีการค้ากับอังกฤษ เมื่อ พ.ศ.2398 เป็นที่ รู้จักกันทั่วไปว่า “สนธิสัญญาเบาว์ริง” หลังจาก ทำสนธิสัญญาเบาว์ริงแล้วได้มีชาติอื่นๆ เข้ามาขอเจราจาทำสนธิสัญญาตามแบบอย่างอังกฤษอีกหลายชาติ เช่น สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส โปรตุเกส เดนมาร์ก เนเธอร์แลนด์ เป็นต้น เมื่อมีชาวต่างประเทศเดินทางมาค้าขายมากขึ้น สินค้าแปลกๆใหม่ๆ และวิทยาการต่างๆ ก็แพร่หลายสู่ประชาชนทั่วไป ทำให้มีการพัฒนาบ้านเมือง เพื่อให้ทันสมัยทัดเทียมกับต่างประเทศ เช่น มีการตัดถนนสายต่างๆ ได้แก่ ถนนเจริญกรุง หรือถนนใหม่ บำรุงเมือง เฟื่องนคร สีลม และมีการขุดคลองผดุงกรุงเกษม คลองดำเนินสะดวก ฯลฯ
ตามข้อ ความในสนธิสัญญาเบาว์ริงกำหนดให้ไทยเรียกเก็บภาษีขาเข้าไม่เกินร้อยละ 3 เท่านั้น แต่เนื่องจากมีเรือเข้ามาค้าขายมากกว่าแต่ก่อนถึงปีละ 103 ลำ ทำให้ไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้าทุกปี แต่การจัดเก็บภาษีในสมัยนี้ไม่รัดกุมพอ เมื่อมาถึงสมัยรัชกาลที่ 5 โปรด เกล้าฯให้ตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ขึ้นใน พ.ศ.2416 เพื่อรวบ รวมภาษีอากรทุกชนิดจากทุกหน่วยงาน และได้ตรมพระราชบัญญัติเกี่ยวกับภาษีอากรหลายฉบับ กำหนดอำนาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่แบ่งงานในแต่ละกระทรวง กำหนดอัตราภาษีอากรที่แน่นอน ทำให้รัฐมีรายได้เพิ่มมากขึ้นอีกมากมาย

เงินตรา ในสมัยรัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งโรงกษาปณ์ขึ้นใน พ.ศ.2403 ได้ เปลี่ยนจากการใช้เงินพดด้วงเป็นเงินเหรียญ ครั้นถึงสมัยรัชกาลที่ 5 โปรด เกล้าฯ ให้เปลี่ยนมาตราเงินไทยมาใช้ระบบทศนิยมกำหนดให้ 1 บาท มี 100 สตางค์ สร้างเหรียญสตางค์ทำด้วยทองขาว และเหรียญทองแดง และได้โปรดเกล้าฯ ได้พิมพ์ธนบัตรขึ้นใช้อย่างจริงจัง โดยตราพระราชบัญญัติธนบัตร ร.ศ.121 (พ.ศ.2445)และตั้ง กรมธนบัตรขึ้น สังกัดกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ นอกจากนี้ยังประกาศใช้พระราชบัญญัติมาตราทองคำ ร.ศ.127 (พ.ศ.2451) โดยใช้ ทองคำเป็นมาตรฐานเงินตราแทนเงิน และในปีเดียวกันได้ประกาศยกเลิกการใช้เงินพดด้วง เหรียญ เฟื้อง เบี้ยทองแดงต่างๆ เบี้ยสตางค์ทองขาว โดยให้ใช้เหรียญบาท สลึง และเหรียญสตางค์อย่างใหม่แทน

การธนาคารและคลังออมสิน
สมัย รัชกาลที่ 5 ได้มีการจัดตั้งธนาคาร ขึ้นครั้งแรกใน พ.ศ.2431 ดำเนินการโดยชาวต่าง ประเทศ ต่อมาใน พ.ศ.2449 พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย (พระองค์เจ้าไชยันตมงคล) ได้เป็นผู้ก่อตั้งธนาคารแห่งแรกที่ดำเนินการโดยคนไทย ชื่อว่า “บุ คคลัภย์” (Book Club) ต่อมาได้รับพระบรมราชา นุญาตให้จดทะเบียนตั้งเป็นธนาคารได้ถูกต้องตามกฎหมาย ใช้ชื่อว่า “บริษัท แบงก์สยามกัมมาจล ทุนจำกัด (Siam Commercial Co,) ปัจจุบัน เปลี่ยนชื่อเป็น “ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด”
คลังออมสินจัดตั้งใน สมัยรัชกาลที่ 6 ใน พ.ศ.2458 ตามพระ ราชบัญญัติออมสิน และได้วิวัฒนาการเป็นธนาคารออมสิน
สังคมและวัฒนธรรมสมัยรัตนโกสินทร์ ตอนต้น
สังคม รัตนโกสินทร์ มีการแต่งตั้งบุคคลให้ ดำรงค์ตำแหน่งขุนนางเป็นจำนวนมากเพราะขุนนางตายในคราวสงครามกับพม่าปลายสมัย อยุธยาและสมัยกรุงธนบุรี เปิดโอกาสให้สามัญชน ซึ่งมีความรู้และความประพฤติดีเข้าเป็นขุนนางได้ สถาบันพระมหากษัตริย์ในสมัยนี้มีความใกล้ชิดกับขุนนางด้วย การสร้างความสัมพันธ์ทางเครือญาติกับบรรดาขุนนางตระกูลสำคัญ ๆ การค้าขายกับต่างประเทศได้เปิดโอกาสให้พระบรมวงศานุวงศ์และขุนนางมีความ สัมพันธ์ทางเครือญาติและอุปถัมภ์อย่างใกล้ชิด ทำให้สามารถแสวงหารายได้ผลประโยชน์ จากตำแหน่งหน้าที่ เป็นผู้ที่มีฐานะมั่งคั่งทางเศรษฐกิจมีอำนาจทางการเมือง มีการประสานประโยชน์ระหว่างพระมหากษัตริย์ เจ้านายและขุนนาง

ไพร่ คือราษฎรสามัญทั้งชาย หญิงเป็นคนส่วนใหญ่ในสังคมไทย ไพร่ทุกคนต้องขึ้นทะเบียนสังกัดมูลนายเมื่อมีอายุ 9 ขวบ พระมหากษัตริย์ทรงเป็น เจ้าของไพร่พลทั้งหมดแต่ผู้เดียว พระองค์ทรงแจกจ่ายไพร่ ให้อยู่ใต้การปกครองของเจ้านายและขุนนางตามตำแหน่งและศักดินา ไพร่จึงเป็นสมบัติของ มูลนาย ไพร่หลวงเป็นไพร่ของ พระมหากษัตริย์ พระองค์ปกครองไพร่หลวง ผ่านทางมูลนายผู้ควบคุมไพร่หลวงจะสังกัดกรมขุนนางต่าง ๆ ยามปกติไพร่หลวงถูกเกณฑ์ทำงานโยธาให้รัฐ ไพร่สม เป็นไพร่ที่พระมหากษัตริย์ พระราชทานเป็นไพร่ส่วนตัวของเจ้านายและขุนนาง จึงเป็นมรดกตกทอดได้ ไพร่สมต้องทำงานให้ มูลนายของตนตามระบบ
ทาส เป็นคนกลุ่มน้อยใน สังคม ไม่ถูกเกณฑ์แรงงาน ทาส สมัยอยุธยาตามกฎหมาย ลักษณะทาส พ.ศ. 2191 มี 7 ประเภท คือ ทาสสินไถ่ ทาสในเรือนเบี้ย ทาสที่ บิดามารดายกให้ลูกของตน ทาสท่านให้ ทาสที่ได้มาโดยการช่วย เหลือให้พ้นจากโทษทัณฑ์ ทาสที่ได้มาโดยการช่วย ให้พ้นจากความอดอยาก และทาสเชลย ทาสใน สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นส่วนใหญ่เป็นทาส สินไถ่ ซึ่งสามารถไถ่ตัวให้ พ้นจากการเป็นทาสได้ ทาสเชลยไม่มีค่าตัว ต้องเป็นเชลยไปตลอดชีวิตจนกระทั่ง พ.ศ. 2348 จึงมีกฎหมายระบุให้ทาส เชลยมีค่าตัวและไถ่ตัวเองได้ ส่วนทาสในเรือนเบี้ย หรือลูกทาสต้องเป็นทาสตลอดชีวิตไม่มีสิทธิไถ่ตัว พระบาทสมเด็จพระจุล จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงออก พ.ร.บ. เกษียณอายุลูกทาสลูกไท พ.ศ. 2417 ประกาศให้ลูกทาสที่ เกิดตั้งแต่ ปีที่พระองค์ขึ้นครอง ราชย์